การแข่งขันความคิดสร้างสรรค์สำหรับการคมนาคมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Future EV Mobility Creative Contest for Sustainability
1. คุณสมบัติของผู้สมัครและข้อกำหนดในการรับสมัคร
-
- เปิดรับสมัครทีมแข่งขันโดย 1 ทีมประกอบด้วยสมาชิก 3 คนโดยไม่จำเป็นต้องมาจาก สถาบันการศึกษาเดียวกัน
- ผู้สมัครมีสถานะเป็นนักศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในไทยและต่างประเทศในวันสุดท้ายของการปิดรับสมัครโดยแนบสำเนาบัตรนักศึกษาที่ออกให้โดยสถาบันการศึกษาเป็นหลักฐานยืนยัน ซึ่งรวมถึงนักศึกษานานาชาติ นักศึกษาแลกเปลี่ยน นักศึกษาฝึกงาน และมีเงื่อนไขว่าผู้สมัครต้องสามารถมาเข้าร่วมการแข่งขันด้วยตนเองในรอบสุดท้ายในวันที่ 27 – 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการเดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันในรอบ สุดท้ายเองจนสิ้นสุดการแข่งขัน
- ไม่จำกัดสัญชาติ มีอายุ 18 – 35 ปีบริบูรณ์ในวันสุดท้ายของการปิดรับสมัคร
- ทุกทีมจะต้องเข้ารับการอบรมออนไลน์ร้อยละ 60
- ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะต้องไม่มีสายสัมพันธ์ทางครอบครัว (พี่ น้อง บุตร) กับคณะกรรมการตัดสิน หรือคณะกรรมการจัดงานทุกฝ่าย ทั้งคณะกรรมการจัดงานฝ่ายกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย และฝ่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
2. หัวข้อในการแข่งขัน “The EV Hackathon for Sustainability: #EV4Sustain”
2.1 รูปแบบการแข่งขัน
2.1.1 รอบแรก (รูปแบบ Online)
เพื่อคิดค้น สร้างสรรค์ และนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ เพื่อออกแบบ Platform หรือต้นแบบ การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะทางเทคนิคในการแก้ปัญหา ข้อเสนอนโยบายภาครัฐ รูปแบบธุรกิจใหม่ การแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและสังคม การขนส่ง การก่อสร้าง รวมถึงการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตและการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า และประเด็นอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้กรอบของยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2.1.2 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (รูปแบบ Online)
แต่ละทีมนำข้อมูลจากการนำเสนอในรอบแรกมาขยายความด้านต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมกับองค์ประกอบการนำเสนอ ภายใต้การให้คำปรึกษาโดยทีมปรึกษาของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน (Mentor) ผ่านระบบ online
2.1.3 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) โจทย์จากผู้ประกอบการ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (sponsor) ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะประกาศโจทย์ให้ทราบในวันที่แข่งขัน
2.2 รูปแบบผลงานและการนำเสนอผลงาน
2.2.1 เนื้อหาการนำเสนอผลงาน ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบดังนี้
-
-
- Purpose: แสดงจุดประสงค์ของงาน ทำอะไร หรือส่งมอบคุณค่าอะไรให้หลังดำเนินการ
- Problem/Pain: บอกถึงปัญหาที่มีอยู่จริงและกลุ่มลูกค้าที่มีขนาดใหญ่มากพอ
- Solution: เสนอแนวความคิดที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง และประโยชน์ หรือผลกระทบนั้น
- Market Validation/Impact Validation: ตัวเลขที่บอกว่ามีลูกค้าหรือผู้ใช้งานจำนวนเท่าไหร่ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าจะมีผู้ใช้ มีความต้องการสินค้าบริการจริง หรือผลที่ยืนยันถึงผลกระทบต่อผู้คน สังคม ในกรณีที่เป็นผลงานเชิงนโยบาย หรือไม่ได้แสวงผลกำไร
- Market Size/Impact Size: แสดงตัวเลขขนาดของตลาดที่เพียงพอและสัดส่วนของส่วนแบ่งการตลาดที่คาดว่าจะแบ่งมาได้ หรือจำนวนของผู้คนที่ได้รับผลกระทบทั้งในแง่บวกและลบ
- Product/ Platform/Policy: นำเสนอให้เห็น Platform Product ของจริงหรือตัวอย่าง
- Business Model/Exhibition: แสดงวิธีการทำเงิน และการหารายได้ของการดำเนินการ หรือ วิธีการพัฒนาความยั่งยืนของโครงการ ในกรณีที่เป็นผลงานเชิงนโยบาย หรือไม่ได้แสวงผลกำไร
- Marketing Plan/Market Value: วิธีการเข้าถึงลูกค้าหรือผู้ใช้งาน ทำอย่างไร ลูกค้าถึงจะยอมเสียเงินเพื่อซื้อสินค้าบริการของเรา หรือทำอย่างไรจะให้บริการหรือผลิตภัณฑ์ สามารถนำไปใช้กับสิ่งแวดล้อมนั้นได้ หรือ วิธีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมโครงการ ในกรณีที่เป็นผลงานเชิงนโยบาย หรือไม่ได้แสวงผลกำไร
- Competition/Risk: วิเคราะห์คู่แข่งในตลาด มีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบอย่างไร
-
2.2.3 วิธีการนำเสนอผลงาน
-
-
- รอบแรก วีดีทัศน์นำเสนอระยะเวลาไม่เกิน 4 นาที (ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ)
- รอบ 16 ทีม การนำเสนอ และตอบข้อซักถามทางออนไลน์ ทีมละ 10 นาที ถามตอบ 10 นาที (ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ)
- รอบ 8 ทีม เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเป็นเวลา 24 ชั่วโมง (ข้ามคืน) และการนำเสนอและตอบข้อซักถาม ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมละ 25 นาที (ภาษาอังกฤษ)
-
2.3 เกณฑ์การแข่งขัน
-
- ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าผ่านระบบออนไลน์ก่อนการแข่งขัน โดยทุกทีมจะต้องเข้ารับการอบรมอย่างน้อยร้อยละ 60 มิฉะนั้นจะถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์การแข่งขัน
- ผลการพิจารณาการเข้าร่วมแข่งขันและการให้รางวัลของคณะกรรมการ ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด
3. กำหนดการรับสมัครและการแข่งขัน
ประชาสัมพันธ์และรับสมัคร | 23 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2565 | |
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ยานยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้น (ผ่านระบบออนไลน์) | 2 – 9 กรกฎาคม 2565 | |
วันสุดท้ายการส่งผลงานรอบแรก | 22 กรกฎาคม 2565 | |
ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบ 16 ทีม | 29 กรกฎาคม 2565 | |
กิจกรรมอบรมการนำเสนอรอบ 16 ทีม (ผ่านระบบออนไลน์) | 30 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2565 | |
นำเสนอผลงานรอบ 16 ทีม (ผ่านระบบออนไลน์) | 6 สิงหาคม 2565 | |
ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบ 8 ทีม | 10 สิงหาคม 2565 | |
จัดกิจกรรมการแข่งขัน (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) | 27 – 28 สิงหาคม 2565 |
ส่งใบสมัครและรายละเอียดการสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2565
-
- ดาวน์โหลดใบสมัครแล้วส่งกลับมายัง E-mail: ev4sustain@tggs.kmutnb.ac.th หรือ สมัครออนไลน์ ได้ที่ website: https://ev4sustain.kmutnb.ac.th/
- แนบสำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา ทุกคนในทีม กรณีเป็นนักศึกษาต่างชาติให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวนักศึกษา หรือหลักฐานยืนยันจากสถาบันศึกษาต้นสังกัดในประเทศไทย หรือองค์กรที่ทำการฝึกงานอยู่ในประเทศไทย
4. รางวัลในการแข่งขัน
-
-
- ทีมชนะเลิศ รับเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร
- ทีมรองชนะเลิศอันดับ1 รับเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร
- ทีมรองชนะเลิศอันดับ2 รับเงินรางวัล 25,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตร
- รางวัลชมเชย จำนวน 5 รางวัล รับเงินรางวัล 15,000 บาท และเกียรติบัตร
-
5. เกณฑ์การตัดสิน
การแข่งขันในทุกรอบ ผลงานจะถูกตัดสินภายใต้เกณฑ์หลัก 3 ข้อ (100 คะแนน) ดังนี้
5.1 ความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบการนำเสนอและการสื่อสาร (30 คะแนน)
แนวความคิดที่นำเสนอจะถูกให้คะแนนตามความคิดสร้างสรรค์และคุณภาพการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอง่ายต่อการทำความเข้าใจการให้คะแนนจะให้ตามระดับความคิดสร้างสรรค์ที่แสดงให้เห็นว่าแตกต่างจากแนวความคิดที่อยู่ในปัจจุบันมากเพียงใด หรือระดับความคิดสร้างสรรค์ในการผสมผสานเทคนิควิธีการที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาในมุมมองใหม่ ๆ
5.2 ความถูกต้องทางเทคนิค และความสามารถในการใช้งานจริง (40 คะแนน)
แนวความคิดที่จะนำเสนอจะต้องมีความเป็นได้ที่จะทำให้เกิดขึ้นจริง คะแนนจะให้ตามความเป็นไปได้ ในทุกมุมมองทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม และความถูกต้องทางเทคนิค รวมถึงระดับความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจริง
5.3 ผลกระทบและประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (30 คะแนน)
แนวความคิดที่นำเสนอจะได้รับคะแนนตามระดับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานอย่างยั่งยืน ซึ่งประเมินด้วยการพิจารณาด้วยวิจารณญาณของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6. เงื่อนไข/ข้อตกลง
6.1 ทีมผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่ด้วยตนเอง โดยต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น หรือไม่ส่งผลงานของผู้อื่นเพื่อใช้สำหรับการแข่งขันครั้งนี้ หากมีการนำทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นมาใช้ประกอบ เช่น รูปภาพ เนื้อหา บทความ ขอให้ระบุการอ้างอิงที่ชัดเจนและถูกต้อง หากทีมผู้เข้าแข่งขันฝ่าฝืนไม่กระทำตามที่ระบุข้างต้น จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง อาทิ ความเสียหายต่อบุคคลภายนอก ค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความ
6.2 ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันในวัน เวลา ตามที่ผู้จัดกำหนด
6.3 ผลงานของทีมที่เข้าแข่งขันยังคงเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันยินยอมให้ผู้จัดงานใช้ลิขสิทธิ์ในผลงานต้นแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการแข่งขันในครั้งนี้ รวมถึงไฟล์ต้นฉบับทั้งหมด ตลอดจนสิทธิอื่นใดในผลงานดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในการแข่งขันในสื่อต่างๆ เช่น ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ หรือการใช้งานอื่นๆ ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและวิจัยพัฒนา และเผยแพร่ชื่อเสียง (ผู้จัดการคือกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)
6.4 ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่า ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขันมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่กำหนด หรือไม่ดำเนินการตามเงื่อนไขข้างต้น ผู้จัดงานสามารถตัดสิทธิ์หรือเพิกถอนผลการตัดสิน และเรียกคืนเงินรางวัลทั้งหมดได้
6.5 ทีมผู้เข้าร่วมแข่งขัน ยอมรับว่าการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด และยินดียอมรับ ผลการตัดสิน รวมถึงกฎเกณฑ์และเงื่อนไขการตัดสินทุกประการ