Home » การอบรม

การอบรม

โปรแกรมการฝึกอบรมแบบออนไลน์ได้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมและผู้สนใจทุกคน มีความเข้าใจพื้นฐาน ความรู้ด้านเทคโนโลยี และข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจโดยเฉพาะสำหรับวิสาหกิจขนาดขนาดย่อมและผู้ประกอบธุรกิจเริ่มต้น การอบรมจะถูกจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 02-09 กรกฎาคม 2565 โปรแกรมการฝึกอบรมประกอบด้วยหัวข้อและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า, เทคโนโลยีแบตเตอรี่, อนาคตของยานยนต์ไฟฟ้า, ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก และโอกาสทางธุรกิจในระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมโปรแกรมอบรมออนไลน์ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย กรุณาเยี่ยมชมลิงค์ด้านล่างสำหรับรายละเอียดข้อมูลและการลงทะเบียน ข้อกำหนดและเงื่อนไขของการเข้าร่วมการฝึกอบรมสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน

  • ผู้จัดงานจะส่งอีเมลเชิญฝึกอบรมออนไลน์พร้อมลิงก์ให้ผู้เข้าแข่งขันเพื่อแจ้งกำหนดการฝึกอบรม
  • สำหรับแต่ละทีม สมาชิกในทีมอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเข้าร่วม อย่างน้อย 9 จาก 15 เซสชัน (>60%) ของโปรแกรมทั้งหมดจึงจะมีสิทธิ์ส่ง VDO ในรอบที่ 1 ให้คณะกรรมการพิจารณาได้
  • สำหรับการตรวจสอบการเข้าฝึกอบรมของแต่ละทีม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตั้งชื่อล็อกอินเมื่อเข้าร่วมเซสชันการฝึกใน WEBEX ด้วยหมายเลขทีม และชื่อสมาชิกในทีม (ภาษาอังกฤษ) เช่น 001-ชื่อสมาชิกทีม, 001-Peter Goodman

ตารางการฝึกอบรม

(กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม)

 

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2565

Session 1 09:00 – 09:45 ข้อมูลเบี้องต้นของงาน EV Hackathon คณะกรรมการจัดการแข่งขัน
Session 2 09:45 – 10:30 โซลูชันทางธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ดร. พศิน สืบทรัพย์อนันต์
    กรรมการผู้จัดการ บริษัท สมาร์ทสเตชั่น จำกัด
Session 3 10:30 – 11:15 โซลูชันทางธุรกิจยานยนต์ไฟ้ฟ้า คุณจาตุรงค์ สุริยาศศิน
    รองผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
Session 4 11:15 – 12:00 โซลูชันทางธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า คุณสุริสา แสงดี
    พัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
Session 5 12:00 – 12:45 โซลูชันทางธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า คุณสายชล จันทร์สวน
    ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจใหม่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจใหม่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2565

Session 6 17:00 – 18:30 ยานยนต์ไฟฟ้าในเยอรมนี Prof. rer. nat. Dirk-Uwe Sauer
    ศาสตราจารย์สาขาการแปลงพลังงานเคมีไฟฟ้าและระบบกักเก็บพลังงาน มหาวิทยาลัยอาเค่น เยอรมนี

วันอังคารที่ 5 กรกฎา 2565

Session 7 17:00 – 17:45 ธุรกิจตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า – มูฟมี คุณพิพัฒน์ ตั้งสิริไพศาล
    ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม บริษัท เออร์เบิน โมบิลิตี้ เทค จำกัด
  17:45 – 18:30 โซลูชันทางธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า นายพลพจน์ วรรณภิญโญชีพ
    ประธานกรรมการ บริษัท อีซียู ช็อป 1 จำกัด

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565

Session 8 17:00 – 18:30 ธุรกิจและการวิจัยพัฒนามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า คุณวสันต์พรรษ ภูริณัฐภูมิ
ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบทางวิศวกรรม บริษัท จีพี มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
คุณเสถียรพงษ์ สมจิตต์
ผู้จัดการฝ่ายออกแบบระบบไฟฟ้ายานยนต์ บริษัท จีพี มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565

Session 9 17:00 – 18:30 การดัดแปลงยานยนต์ไฟฟ้า: แนวโน้มความท้าทาย และโอกาส คุณปริพัตร บูรณสิน
  ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท เกวินน์ คอนซัลติ้ง จำกัด เลขานุการประจำคณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐฯ คณะทำงานพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงใน EEC-HDC คณะทำงานประสานงานพัฒนาบุคลากรใน EEC-HDC

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565

Session 10 17:00 – 18:30 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณรงค์ ธรรมภูติ
    อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า มจพ.

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2565

Session 11 09:00 -09:45 แนวโน้ม อนาคต และความท้าทาย ของยานยนต์ไฟฟ้า คุณกฤษฎา อุตตโมทย์
    ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
Session 12 09:45 – 10:30 เทคโนโลยีแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ดร. พิมพา ลิ้มทองกุล
    หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน ENTEC/สวทช. นายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย
Session 13 10:30 – 11:15 การออกแบบแบตเตอรี่สำหรับใช้ในยานยนต์ไฟฟ้า ดร. มานพ มาสมทบ
นักวิจัยเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน ENTEC/สวทช.
Session 14 11:15 – 12:00 การจัดการขยะแบตเตอรี่จากยานยนต์ไฟฟ้า รองศาสตราจารย์ ดร. รังสิมา หญีตสอน
    รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและจัดการนวัตกรรม สำนักวิจัยฯ TGGS/มจพ.
 Session 15  12:00 – 12:45 Innovative Materials for EV Mobility คุณสมภพ ประเสริฐกุล
    ผู้จัดการฝ่ายขายเชิงเทคนิค ประจำภูมิภาคอาเซียน, Covestro Thailand